เมนู

สบายในที่จะรักษาศีลพรหมจรรย์ เหมือนกันกับบุคคลรักษาแผลนี้ ก็ต้องด้วยกระแสพระ
พุทธฎีกาสมเด็จพระทศพลญาณตรัสประทานไว้ว่า พึงให้บรรพชิตรักษากายของอาตมาดุจหนึ่ง
ว่าบุคคลทั้งหลายอันรักษาแผล แต่ว่าอย่างพึงให้เสน่หารักใคร่ในกาย น่ะพระราชสมภาร
อนึ่ง สมเด็จพระทศพลญาณตรัสประทานไว้อีกเล่า ยุติด้วยพระคาถาว่า
อลฺลจมฺมปฏิจฺฉนฺโน นวทฺวาโร มหาวโณ
สมนฺตโต ปตฺฆรติ อสุจิปูติคนฺฑิโกติ

กระแสพระพุทธฎีกาโปรดว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย กายของเราท่านทั้งหลาย
นี้ไม่เป็นแก่นสาร ประกอบไปด้วยทวารทั้ง 9 มีปากทวารเหมือนปากแผลอันใหญ่ ประกอบด้วย
อสุจิไหลออกามาทุกทวารสิ้น ปูติคนฺธิโก มีแต่ล้วนกลิ่นอันน่าพึงเกลียดพึงชัง นี่หากว่าหนังหุ้ม
กำบังไว้ หาไม่นี้จะเวทนาดูน่าสมเพช เหตุฉะนี้ท่านทั้งหลายเร่งคิดเป็นอนิจจังเหนื่อยหน่ายอย่า
ได้รักซึ่งร่างกาย จงมีจิตขวนขวายที่จะได้ซึ่งธรรมอันเป็นนิโรธ ตกว่าพระพุทธฎีกา ตรัสโปรดไว้
ฉะนี้ น่ะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์นริทรภูมิบาลได้ทรงสาวนาการก็ชื่นบานหรรษาตรัสว่า
กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวถ้อยคำสมควรนักหนาในกาลบัดนี้
กายอัปปิยปัญหา เป็นประถมจบเท่านี้

สัมปิตตกาลปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พุทฺโธ อันว่าสมเด็จพระพุทธเจ้านี้ สพฺพญฺญู เป็นสัพพัญญู
สพฺพทสฺสาวี มีปรกติสารพัดจะเห็นสิ้นหรือประการใด
พระนาคเสนเถระเมื่อจะแก้ไขจึงถวายพระพรว่า อาม มหาราช ขอถวายพระพร จริงอยู่
สมเด็จพระสัพพัญญูนี้สารพัดรู้ซึ่งวิสัยโลกุตรและโลกีย์ สพฺพทสฺสาวี สารพัดที่เห็นไปสิ้น
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระบรมราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์จอมโลกเป็นองค์สัพพัญญู สารพัดที่
จะรู้เห็นตลอดโลก ทั้งอดีตอนาคตปัจจุบันสารพัดจะรู้ไปสิ้นแล้ว ก็ไฉนจงไม่ทรงบัญญัติ

สิกขาบทแก่พระภิกษุทั้งปวงให้เป็นลำดับ ๆ ไป จึงค่อยบัญญัติทีละน้อย ๆ ระรอยว่าจะหารู้
ตลอดไปไม่ดอกกระมัง น่ะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรถามไปเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เหมือนหมอทั้งหลายที่รู้ตำรารักษาไข้ ย่อมรู้ไปในลักษณะยาทั้งปวง รู้ว่าไข้สิ่งนั้นชอบประกอบ
ยาสิ่งนั้น รู้สารพัดไปกระนี้หรือ พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต เออ กระนั้น
แหละซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามอีกเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นมหิศรา-
ธิบดี เมื่อหมอทั้งหลายรู้ยาแล้ว ไฉนจึงมิประกอบยาไข้ ให้กินเสียให้โรคหาย จนตลอดชีวิตที
้เดียว จึงค่อยเยียวยารักษาแต่ทีละไข้ เป็นเหตุไฉน น่ะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการแก้ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
หมอเหล่านั้นเขารักษาแต่ที่คนเจ็บคนไข้ ทีไม่ไข้ไม่เจ็บไม่รู้ที่จะให้กินยากันไว้ น่ะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า หมอนั้นเล่าเปรียบฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ยังไม่มีเหตุก็ไม่บัญญัติแก่สาวกด้วยสิกขาบทน้อยใหญ่ ดุจคนไม่เจ็บไม่ไข้ หมอมิได้พยาบาลนั้น
ขอถวายพระพร
ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระทัยโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ สมควร
แล้วที่กล่าวในกาลบัดนี้
สัมปัตตกาลปัญหา คำรบ 2 จบเท่านี้

ทวัตติงสมหาปุริสลักขณปัญหา ที่ 3


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ สมเด็จพระมงกุฏมาจารย์นี้งามเป็นที่
ยิ่ง ประกอบด้วยทวัตติงสมหาปุริสลักขณะ 32 พระฉวีวรรณดังทองผ่องใสงามไปด้วยอสีตยา-
นุพยัญชนะน้อยใหญ่ 80 ประการ พยฺามปฺปภา มีพระรัศมีชัชวาลเปล่งออกข้างละวา พระ
พุทธองค์ทรงโสภาคย์งามเป็นที่ยิ่ง จริงอย่างโยมว่ากระนี้แน่นอนหรือประการใด